วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายข้าวเปลือก

ความสำคัญ
การก่อพระเจดีย์ทรายเป็นประเพณีที่ชาวไผ่ดำ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ได้กระทำสืบทอดกันมาแต่อดีตกาล วัตถุประสงค์เพื่อนำเอาทรายมาใช้ทำสาธารณประโยชน์ในวัด
ส่วนการก่อพระทรายข้าวเปลือก เป็นการทำบุญอย่างหนึ่งของชาวไผ่ดำ ที่นำเอาผลผลิตจากอาชีพการทำนา คือ ข้าวเปลือก มาก่อเป็นเจดีย์แทนทราย
พิธีกรรม
                      การก่อพระเจดีย์ทรายเนื่องจากสภาพท้องถิ่นของหมู่บ้านไผ่ดำ เป็นที่ราบน้ำท่วมถึงจึงทำให้ไม่มีทรายอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเลย การก่อพระเจดีย์ทรายของชาวไผ่ดำ จึงเปลี่ยนจากการขนทรายมาเป็นการซื้อทรายจากทางวัด ซึ่งที่วัดไผ่ดำจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อน ว่าจะมีการการก่อพระเจดีย์ทรายในวันพระไหน เมื่อถึงวันกำหนดประชาชนก็จะไปทำบุญและก่อพระเจดีย์ทรายร่วมกัน จากนั้นก็มีการประกวดความสวยงามของพระเจดีย์ ว่าใครตกแต่งได้ดีกว่ากัน การก่อพระทรายข้าวเปลือก ก็มีวิธีดำเนินการเช่นเดียวกัน คือ นัดวัน เมื่อถึงวันกำหนดชาวบ้านก็จะนำข้าวเปลือกใส่กระบุงไปวัด แล้วเอาไปเทกองรวมกันในที่วัดจัดไว้เป็นพระเจดีย์ ควบคู่ไปกับการทำบุญ ข้าวเปลือกที่ได้ทางวัดจะนำไปขาย เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยมาใช้จ่ายในการทำนุบำรุงศาสนสถานของวัดต่อไป

  ประวัติความเป็นมาของการก่อพระเจดีย์ทรายเมื่อครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าเสด็จ ไปยังแคว้นโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลชักชวนพุทธบริษัทบริวารชายหญิงสร้างและก่อพระเจดีย์ทราย เพื่อต้อนรับองค์พระสัมมา
สัมพุทธเจ้า อธิษฐานเป็นพุทธบูชา มีการปักธงทิว และปักฉัตร ทิศ ชั้น เป็นพุทธบูชาเช่นกัน
ตำนานการก่อเจดีย์ทรายมีมา ตั้งแต่สมัยพุทธกาล   พระเจ้าปเสนทิโกศลพร้อมด้วยข้าราชบริพาร  เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า   ระหว่างทางเดินเห็นทรายสวยงาม  จึงก่อเจดีย์พร้อมกับบริวารได้แปดหมื่นสี่พันองค์   ถวายเป็นพุทธบูชา     ธรรมบูชา  และสังฆบูชา

             จากนั้นก็เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเล่าเรื่องนี้ให้พระองค์ฟัง     และถามถึงอานิสงส์     ทราบว่า  การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง ๘ หมื่น ๔ พันองค์หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือ จะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ      ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้


ในส่วนมุมมองทางวัฒนธรรม  สมัยก่อนเมื่อเราเข้าวัดเราขณะที่เราเดินทางเข้าออกจากวัด  อาจมีเม็ดทรายที่ติดไปกับรองเท้า   การที่ก่อพระเจดีย์ทรายส่วนหนึ่งเพื่อให้เราได้ทำบุญด้วยการขนทรายเข้าวัด  เพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนา
นอกจากนั้นแล้วยังเพิ่มความรักความอบอุ่นในครอบครัวที่ร่วมมือร่วมใจกันประกอบกิจอันเป็นกุศล  
 

































http://www.chaoprayanews.com/2014/03/04/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2/ http://www.m-culture.in.th/
www.madchima.org/forum/index.php?topic=373.0 ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/351714
https://www.gotoknow.org/posts/351714
https://i.ytimg.com/vi/syO2SIaU5bY/maxresdefault.jpg
http://123.242.171.10/pokpong/pknews/event_show_p.php?edt_auto=2070
http://www.stou.ac.th/Offices/rdec/nakornnayok/Main/OnlineExhibitions/ChaCherngSao/ChaPage3.html
http://www.webpitlok.com/forum/index.php?topic=17075
http://pantip.com/topic/31910683
ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายข้าวเปลือก